วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Week 3 : touchpoint

Day 9 : Building Touchpoint


ใน week นี้ เราจะเรียนเรื่องในการสร้าง touchpoint ให้อยู่ใน action plan ของ social media mkt ตอนนี้ เราจะได้มาวิเคาะห์ถึง touchpoint ในทุกๆอย่างที่ผู้บริโภคได้ contact กับตราสินค้าของคุณ ซึ่งก่อนอื่น คุณต้องเริ่มต้นด้วยการ review แบรนด์และเครื่องมือทางการตลาดที่คุณมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น TVC หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วออกไป survey ซะหน่อยว่าสินค้าหรือบริการของคุณเป็นอย่างไรบ้าง จากนั้นวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. Promise ของสินค้าคุณคืออะไร
  2. แล้ว Promise เนี่ยมันโดนใจผู้บริโภคเค้าไหม?
  3. มีอะไรสนับสนุน promise บ้าง
  4. ใช้อะไร เป็นเครื่องมือสื่อสาร promise
  5. ผู้บริโภคได้ประสบการณ์อย่างไร ที่เป็นตัววัดความสำเร็จในการใช้เครื่องมือตัวนั้น
  6. เราได้เคยใช้ช่องทางใดไปบ้าง
  7. มันสำคัญหรือจำเป็นต่อผู้บริโภคอย่างไร





Day 8 : Let the game begin

วันนี้เราจะเริ่มมองหา tool ใน social media เพื่อสร้าง intelligence ( ขอทับศัพท์ ) ซึ่งสิ่งที่คุณจะทำจะมีค่าเท่ากับ customer feedback โดยก่อนอื่นขอให้กลับมุมมองจากของ marketing สู่มุมมองของ ผู้บริโภค
โดยที่แบบฝึกหัดวันนี้จะเป็นการแนะนำให้คุณเข้าไปสู่ที่ที่ consumer เค้าพบปะกันและเกิด comment หน้าที่ของเราคือ ค้นหาว่า conversation ที่เกิดขึ้นใน web ที่จะแนะนำข้างล่างนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

Day 8 : an hour exercise


คลิกเข้าไป blog ต่างๆ อาจเป็นของคู่แข่งก็ได้แล้ววิเคาระห์ content, comment ต่างๆที่เกิดขึ้นถ้าเค้ามีให้ feed ก็สมัครซะ

http://blogsearch.google.com
www.blogpulse.com
http://www.planetfeedback.com
www.youtube.com

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับวันนี้คือ Google Alert ซึ่งจะช่วยให้เราทราบถึงความเคลื่อนไหวของ brand ทั้งเราและคู่แข่ง ลองติดตั้งแล้วใช้เป็นเครื่องมือ monitor ไว้เลย

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 7 :Point of purchase

ใน purchase funnel แบบเดิมที่เคยทำกันอยู่เป้าหมายสุดท้ายคือ การดึงเงินออกมาจากระเป๋าตังค์ของผู้บริโภค จ่ายแล้วจบกัน ( เจอ จ่าย จบ )แต่ในแง่ของ social media mkt แล้ว purchase phase คือประตูสู่ social web เป็นจุดเชื่อมต่อ relationship ( ที่คุณได้สร้างไว้ใน social web ผ่าน social media )ของคุณกับของผู้บริโภค ที่ย้อนกลับสู่ purchase funnel นั่นเอง หาก conversation ดูดีคุณก็ไม่ต้องทำอะไรตรงจุดขายมากนัก เค้าเต็มใจมาซื้ออยู่แล้ว แต่ถ้า conversation ดูไม่ค่อยดี ก็ต้องทำอะไรแก้ตัวหน่อย เช่นคูปองส่วนลดหรือ in-store promotion คุณจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อสร้างการขาย วันนี้เราจะได้ทำแบบฝึกหัดกัน

Day7: an hour exercise
สำหรัยแบบฝึกหัดวันนี้ก็คล้ายกับสองวันที่ผ่านมา
  1. List ช่องทางสื่อทางที่คุณใช้อยู่และเคยใช้
  2. แต่ละ channel อะไรคือ success value และfailure value
  3. current value ของแต่ละ channel เป็นอย่างไร
  4. แต่ละ channel คุณวัดผลมันได้อย่างไร
  5. แต่ละ channel วัดผลในเชิงปริมาณได้มั้ย

สรุปก่อนจบ สมวันที่ผ่านมาเราได้เห็นภาพ loop ของ purchase funnel ไปแล้ว จากแบบฝึกหัดทำให้เรารู้ว่าเราได้ทำอย่างไรในการตลาดแบบ traditional media mkt ซึ่งจริงๆแล้ว social media mkt ก็อยู่บนพื้นฐานนี้เช่นเดียวกันคือมี bussiness objective และเลือกวางช่องทางให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด เพียงแต่ social media mkt คุณต้องใส่ความสนุกเข้าไป และกำหนดทิศทางของ conversation ที่อยากให้เกิดขึ้นรอบแบรนด์ของคุณ และตัองตัดสินใจให้ได้ว่าอยากให้ social media ทำงานอะไรให้คุณบ้าง เช่น คุณอยากสร้าง conversation ไหม? คุณอยากรักษา positive conversation ที่มีอยู่ไว้ ?หรือแม้แต่คุณอยากจะแก้ negative conversation ก็ว่ามา ในวันต่อไป เราจะได้เห็นว่า conversation ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง แล้ววันต่อไปก็จะลงแผนงาน social media mkt กันอย่างจริงจัง

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 6: The awareness phase

เมื่อวานเราได้เริ่มสร้าง objectiveให้กับแผนงาน social media marketing และพอจะเห็นหน้าตาของ social feedback cycle และความสำคัญของ consideration phase กันไปแล้ว วันนี้มาต่อที่ awareness phase ซึ่งเป็นหัวจักรใน purchase funnel ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักการตลาดนักเชียว ว่าจะเอา social web มา intergrated กับสื่อต่างๆ ในการสร้าง awareness ได้อย่างไร ก็เมื่อก่อน เอะอะอะไรก็พึ่งสื่อ mass อย่าง Tvลูกเดียว
จริงๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่เราสร้างการรับรู้ใน message ของสินค้าหรือบริการ และยึด message นั้นไว้ทอดสมอไปตามช่องทางต่างๆ ของ social media จากนั้นก็ไขก๊อก social feedback cycle โดยการสร้าง social conversation ดีๆ เจ๋งๆ เข้าไปใน loop แล้ว..วัดผล
ฟังเหมือนง่าย ความยากมีตั้งแต่ต้น คือสมองของเรายังไม่เชื่อว่า social web จะสร้าง awareness ได้หรือ? แบบฝึกหัดวันนี้ เค้าจึงอยากให้เราตอบคำถามเค้าหน่อย
Day 6 : one hour exercise
identify ช่องทางที่คุณเคยใช้ในการสร้าง awareness ออกมาก่อนนะ แล้วลองตอบคำถามดังนี้ ( เค้าแนะนำให้เขียนเลย โดยคำตอบต้อง specific, เหมาะสม และวัดผลได้ )
  1. list ออกมาเลยว่าช่องทางที่ใช้มีอะไรบ้างทั้งใช้อยู่และที่เคยใช้
  2. แต่ละช่องทาง หา success value, failure value หมายถึงค่าอะไรที่จะทำให้เราใช้ ไม่ใช้ เช่น ช่องทางสื่อทีวีสามารถเข้าถึงได้คลอบคลุมเท่านี้จึงจะประสบผลสำเร็จ ถ้าเท่านี้ถือว่ารับไม่ได้ล้มเหลว
  3. current value เป็นอย่างไร
  4. อะไรที่ทำให้เราตัดสินใจใช้ช่องทางเหล่านั้น
เป้าหมายหลักของการทำแบบฝึกหัดนี้คือ ให้คุณรู้ว่าเราต้องทำอะไรบ้างในการสร้าง awareness แล้วคุณจะเอาประสบการณ์เดิม ความเชื่อแบบเดิม มาใช้กับสื่อใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างได้อย่างไร

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

Week 2 : Social Feedback Cycle

Day 5 : The Purchase Funnel

หลังจากที่แวะเวียนไปเรื่องอื่นๆ มาหลายวัน เรามาเริ่มศึกษากันต่อ ใน week ก่อนๆ เราได้รู้จักเครื่องมือบางตัวที่สำคัญใน social web ไปแล้ว วันนี้เรามาเข้าเรื่องการทำการตลาดแบบ social media marketing กันเสียที
ในมุมมองของพวกเราอาจคิดว่า โห...ยากจัง ดูลำบาก วุ่นนวายวืดวือเหลือเกิด ตอนเรียนไม่เห็นมีวิชานี้ให้ลงเลย แต่สำหรับในมุมมองของผู้บริโภค (โดยเฉพาะรุ่นใหม่) social network เนี่ยมันช่างเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่ามัวร่ำไร ต้องรีบปรับตัวให้ทัน เดี๋ยวจะไม่ทันผู้บริโภคเค้า

ถึงแม้เราจะยังไม่ได้ลงสนาม social media marketing ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจว่าตราสินค้าของเราจะไม่เป็นที่พูดถึง ยังไงถ้าเค้าชอบหรือไม่ชอบของคุณเค้าก็ยังคงมี social nertwork ที่เป็นสื่อที่พวกเค้า generate ขึ้นมาเอง เป็นที่สร้าง conversation เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ เค้าอาจจะพูดกับตัวเองใน Blog comment หรือ share ได้โดยไม่ต้องรอ approved จากเจ้าของสินค้าเสียด้วย แต่จะดีกว่าไหม? หากคุณได้ร่วมวงสนทนากับเค้า สร้างมีพื้นที่ให้เค้าได้เมาท์ ได้ ( คอม) เมนท์กันเต็มที่ ทำให้เค้าได้มีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ ไม่ต้องไปฟังแต่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ของคุณ ซึ่งบางที่ก็ใช่จะเป็นเรื่องดี การที่คุณได้ร่วม share content กับพวกเค้ายังเปิดโอกาสให้คุณได้มีโอกาสแก้ตัวได้อีกด้วย และเค้าเองแหล่ะที่จะเป็นกระบอกเสียงแทนแบรนด์ในการแก้ต่างให้ ซึ่งแน่นอนใน Traditional media ทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่คล่องตัวแถมยังต้องมีงบเผื่อไว้ด้วย

มาดูกันก่อนว่าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคใน social nerwork ได้ตรงไหน มาดูที่ The classic purchase funnel
The classic purchase funnel
ซึ่งเป็นรูปแบบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะเห็นว่าก่อนการซื้อสินค้า ผู้บริโภคจะรับรู้ในตราสินค้าก่อน (awearness) จากนั้นจึงพิจารณาไคร่ครวญว่าจะซื้อดีไม่ซื้อดี ตรงกระบวนการนี้คือ consideration phase ก่อนจะไปสู่การซื้อ (purchase) consideration phase นี้แหล่ะสำคัญนักเชียว บางที สร้างสื่อทีวีซะเริ่ดสุดดี แต่มาเจอตอ ก็ตอนกระบวนการนี้แหล่ะ เพราะผู้บริโภคมักจะไม่เชื่ออะไรง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว เค้าจะหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ และหากเป็นการบอกต่อหรือ word of mouth เนี่ยยิ่งเชื่อกันสนิทใจ เคยเจอกะตัวเองเหมือนกันเวลาไปซื้อของที่ห้าง ตั้งใจจะซื้อครีมบำรุงอยู่ที่เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง เล็งๆอยู่ แค่มีสาวๆ หน้าใสกว่าเราเมาท์กันเสียงดังว่าจะซื้อครีมยี่ห้อ xxx เพราะติดใจใช้ดี แค่เนั้ยแหล่ะเดินตามสาวนางนั้นแทบไม่ทัน นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ consideration phase

การวิจัยของ Forrester เค้าสรุปประโยคที่น่าสนใจจากปากของผู้บริโภคยุคนี้ไว้ว่า " ไม่ว่าอะไรที่ได้เห็น ได้อ่าน ได้ยินมาจากทีวี หนังสื่อพิมพ์ นิตยสาร ฉันสามารถตรวจสอบได้จาก internet"

ดังนั้นการทำการตลาด social media marketing จึงต้องให้ความสำคัญกับ consideration phase แผนการตลาดดิจิตอลที่ได้ผลจะเชื่อมต่อระยะเวลาระหว่าง awearness กับ consideration phase ได้อย่างเนียนสนิท

The social feedback cycle

จากภาพแสดงให้เห็นว่า ใน perchase จะเกิด post perchase ซึ่งผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นแล้ว มีการบอกต่อ หรือเกิด word of mouth บ้างเข้าไปแสดงความคิดเห็นใน social we ที่ตนเองมี network อยู่ การกระทำเหล่านี้ส่งผลต่อ consideration phase ของผู้บริโภคคนอื่นๆ และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในโลก internet ช่วงเวลาตรงนี้น เราสามารถเข้าร่วมวงสนทนากับผู้บริโภคได้ แต่ต้องเข้าไปอย่างแนบเนียนด้วย Trust and Caring ไม่ใช่เข้าไปตะโกนขายของปาวๆ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้จะเป็นเสมือน Listening platform เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีและประสบการณ์ร่วกันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (ซึ่งในวันต่อๆไปเราจะได้เขยิบเป็น talking platform และsharing platform ในบทต่อๆ ไป ใจเย็นๆ)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือได้เริ่มทำการตลาด social media marketing อย่างจริงจัง โดยหัวใจของการดำเนินงานคือ การสร้าง" participant " ใน " consideration phase " ให้เกิด social feedback cycle อย่างมีประสิทธิภาพต่อตราสินค้าหรือบริการ

Day 5 : one hour exercise

ตอบคำถามต่อไปนี้ในใจนอกใจก็ได้ แต่ต้องจริงจัง

  1. ชื่อสินค้าหรือบริการ หรือแบรนดที่คุณต้องการทำการตลาด social media marketing คืออะไร?
  2. bussiness objective คืออะไร? ขอให้ชัดเจน เป็นตัวเลขเหมือน ROI
  3. เป้าวัดความสำเร็จของแคมเปญที่คุณจะทำคื่ออะไร มีอะไรบ้าง จงแจกแจง
  4. เป้าวัดในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
  5. สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับเป้าหมายความสำเร็จของแคมเปญนี้

เมื่อได้คำตอบแล้ว เช็คในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. bussiness objective ของคุณ ฟังหรืออ่านแล้วคนอื่นเข้าใจไหม?
  2. bussiness objective ของคุณเฉพาะเจาะจงชัดเจนไหม? เช่น ต้องการสร้างยอดขายให้ได้ 200000 ชุด ภายในสิ้นปี 2552
  3. เป้าวัดของคุณวัดได้ไหม? อาจงงว่าจะวัดอย่างไร ง่ายๆ ในโลก internet สถิติเป็นเรื่องง่ายและ real time ยกตัวอย่างเช่น มีคนเข้าไป comment กี่ comment แยกเป็น positive comment และ negative หรือถ้าคุณใช้ระบบ SEO (search engine optimization ) ก็ตั้งเป็นเป้าวัดได้ มีใครคลิกเข้าหาคุณกี่คลิกต่อวัน คุณวัดได้ การวัดผลจาก social media ทำได้มากมาย จะเรียนรู้กันต่อไปค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

กฎ 70/20/10 เพื่อการตลาดดิจิตอล

กฎ 70/20/10 เพื่อการตลาดดิจิตอล
ผู้เขียน: มาร์ค เรนชอว์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตอล เป็นรองประธานบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการปฏิบัติการทางดิจิตอลของลีโอ เบอร์เนทท์ /อาร์คเวิลด์ไวด์

ฝ่ายการปฏิบัติการทางดิจิตอลของลีโอ เบอร์เนทท์ /อาร์คเวิลด์ไวด์ ได้นำเสนอ "กฎ 70/20/10"
เพื่อช่วยเหลือนักการตลาดในการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่จากที่เคยอยู่แต่ในสนามทดสอบมาสู่ตลาดอันยุ่งยากซับซ้อนของการตลาดดิจิตอล อันดับแรก กำหนดงบประมาณการตลาดผ่านดิจิตอลของคุณ (ไม่ใช่งบประมาณการตลาดทั้งหมด) และแบ่งงบประมาณเหล่านั้นออกเป็น 3 ส่วนโดยส่วนแรกแบ่งเป็น 70% อีกสองส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 20% และ 10% ตามลำดับ


งบ 70% แรกเพื่อปรับปรุงกิจกรรมดิจิตอล

งบประมาณส่วนแรกซึ่งมีจำนวนมากที่สุดควรนำมาใช้เพื่อสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อแผนการของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดผลสำเร็จบรรลุล่วงมากที่สุดในรอบปีหรือสองปีของแผนการ นั่นรวมถึงกิจกรรมดิจิตอล เช่น วีดีโอบรอดแบรนด์ โฆษณาผ่านวิดีโอและริชมีเดีย และการตลาดผ่านการเสิร์ช เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้สามารถพิสูจน์ผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน และนี่คือที่ที่คุณสามารถปรับปรุงความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง

20% เพื่อเรียนรู้โอกาส
กำหนดงบประมาณอีก 20% สำหรับสื่อที่กลายเป็นที่นิยมหรือเริ่มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมเหล่านี้ เช่น การตลาดทางโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และเกมบางประเภท กิจกรรมเหล่านี้มีคุณค่าเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยเปิดโอกาสการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในพื้นที่ใหม่ๆ หรือแม้แต่ในสถานที่ที่คุณดำเนินงานอยู่ก่อนแล้วก็ตาม การลงทุนในกิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ภายในเดือนนี้หรือไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ต่อแผนการในอนาคตของคุณ และมีส่วนช่วยให้คุณล้ำหน้าเหนือคู่แข่งได้เช่นกัน

10% ที่เหลือเพื่อรับประกันการตลาด
ไว้สำหรับกำหนดทิศทางการลงทุนในอนาคตและสร้างแผนการตลาดด้วยการทดสอบพื้นที่ทางดิจิตอลที่แม้แต่ผู้บริโภคเองก็ยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าที่ควร นี่เหมือนวิธีการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้บริโภค หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประเมินโอกาสการตลาดในช่วงเวลาตามจริง ถ้าคุณสร้างการลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้ตั้งแต่แรกเริ่ม คุณจะได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นกลายเป็นกระแสฮอตฮิตขึ้นมาทันใด

กฎ 70/20/10 สามารถนำมาใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางสำหรับช่องทางที่คุณสามารถลงทุนได้ทั้งเวลาและเม็ดเงินภายในพื้นที่ดิจิตอล ด้วยกฎเกณฑ์ทั้งหมดนี้ คุณจะสามารถสร้างทั้งโอกาสและไอเดีย และนำมาประยุกต์ใช้กับเป้าหมายธุรกิจและการตลาดทั้งหมดของคุณได้

นอกจากนี้ กฎ 70/20/10 ยังช่วยให้คุณสามารถตอบคำถามที่ว่ากลยุทธ์ดิจิตอลของคุณเป็นอย่างไรได้ด้วยวิธีการที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคi อีกด้วย เค้าว่างั้น


วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

Digital Marketing การตลาดภาคบังคับแนวใหม่ ภาค2

เรื่องของความคิดพื้นฐานบางประการในการทำการตลาดแบบดิจิตอล ยังมีต่อ หลังจากที่เราต้องเตรียมร้อม เตรียมใจ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงไปหลายประการ ยีงมีอีกหลายอย่างที่เราต้องปรับเปลี่ยน ว่ากันต่อเลย


from Intergrated marketing (imc) to unified marketing
จากการตลาดแบบบูรณาการสู่การตลาดแบบมีเอกภาพ

งงมั้ยเดี๋ยวสรุปง่ายๆดีกว่า
imc = การตลาดที่เน้นความเสมอต้นเสมอปลายของ message
unified = การตลาดที่เน้นที่ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของ consumer อย่างสม่ำเสมอ


มายุคนี้แล้วผู้บริโภคเค้าไม่ได้สนใจ brand image ซักเท่าไหร่แล้วมั้ง แปลว่าอะไรเค้าก็ไม่รู้ รู้สึกได้บ้าง ไม่รู้สึกได้บ้างว่า brand นี้มี image แต่เค้าสนใจความต้องการความชอบและข้อมูลส่วนตัวของเค้าจะเป็นที่สนใจของ brand หรือเปล่า ประมาณถ้าเธอจีบฉัน ฉันก็สนเธอนะ ดังนั้นการตลาดในยุคนี้คือ imc อย่างเดียวไม่พอ ต้องหันมาใช้แผนการที่ซับซ่อนแยบยล ในการ connect กับผู้บริโภคแบบรายบุคคล พร้อมกับการเปลี่ยนจากสร้าง brand image เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ร่วมที่ดีกับพวกเค้า

from data blind to data driven
จากยุคเมินเฉยกับข้อมูลสู่ยุคการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
นอกจากข้อมูลเรื่อง insight ของผู้บริโภคที่เป็นประเด็นฮิตของนักการตลาด ต่อไปนี้มีข้อมูลใหม่ที่ต้องรับเข้ามาใหม่กับการตลาดยุคดิจิตอลมากมาย จะว่ากันในภายหลัง

from post test to real time measurement
จากการวัดผลหลังแคมเปญสู่การวัดผล ณ บัดนาว
ต่อไปนี้การวัดผลหลังแคมเปญก็จะเหมือนการขับรถไปข้างหน้าแล้วส่องแต่กระจกหลัง แต่สำหรับโลกดิจิตอล ระยะเวลาระหว่างจุดที่ media ถูกเผยแพร่กับจุดที่ผู้บริโภคมีผลตอบรับแคบลงมากแทบจะเรียกได้ว่าวัดผลได้ทันที ตัวอย่างง่ายๆ บาง Ad banner ที่ post ลงไป อาจทราบได้ทันทีว่ามีคนสนใจเข้าไปคลิกแล้วกี่คน เรียกได้ว่า ต่อไปข้อมูล real time จะเป็นที่กระหายของนักการตลาดแบบดิจิตอล เพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อปรับปรุงได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการตัดสินใจทางการตลาดโดยมีฐานข้อมูลจากข้อมูลย้อนหลัง ไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคการตลาดแบบดิจิตอล

และสุดท้าย...
from patial ROI to optimization
จากการได้คืนเพียงบางส่วนสู่การสร้างโอกาสและได้ผลประโยชน์สูงสุด
เพราะช่องทางดิจิตอล เป็นการสื่อสารแบบเจาะจงถึงตัวผู้บริโภคเป็นรายบุคคล ทำให้ทุกอย่างในส่วนผสมทางการตลาดวัดผลได้ ปรับปรุงและพัฒนาได้ทันที แม่นยำ และตรงจุด ดังนั้นเม็ดเงินที่ลงทุนไป return of investment ได้อย่างคุ้มค่า ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง