วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 7 :Point of purchase

ใน purchase funnel แบบเดิมที่เคยทำกันอยู่เป้าหมายสุดท้ายคือ การดึงเงินออกมาจากระเป๋าตังค์ของผู้บริโภค จ่ายแล้วจบกัน ( เจอ จ่าย จบ )แต่ในแง่ของ social media mkt แล้ว purchase phase คือประตูสู่ social web เป็นจุดเชื่อมต่อ relationship ( ที่คุณได้สร้างไว้ใน social web ผ่าน social media )ของคุณกับของผู้บริโภค ที่ย้อนกลับสู่ purchase funnel นั่นเอง หาก conversation ดูดีคุณก็ไม่ต้องทำอะไรตรงจุดขายมากนัก เค้าเต็มใจมาซื้ออยู่แล้ว แต่ถ้า conversation ดูไม่ค่อยดี ก็ต้องทำอะไรแก้ตัวหน่อย เช่นคูปองส่วนลดหรือ in-store promotion คุณจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อสร้างการขาย วันนี้เราจะได้ทำแบบฝึกหัดกัน

Day7: an hour exercise
สำหรัยแบบฝึกหัดวันนี้ก็คล้ายกับสองวันที่ผ่านมา
  1. List ช่องทางสื่อทางที่คุณใช้อยู่และเคยใช้
  2. แต่ละ channel อะไรคือ success value และfailure value
  3. current value ของแต่ละ channel เป็นอย่างไร
  4. แต่ละ channel คุณวัดผลมันได้อย่างไร
  5. แต่ละ channel วัดผลในเชิงปริมาณได้มั้ย

สรุปก่อนจบ สมวันที่ผ่านมาเราได้เห็นภาพ loop ของ purchase funnel ไปแล้ว จากแบบฝึกหัดทำให้เรารู้ว่าเราได้ทำอย่างไรในการตลาดแบบ traditional media mkt ซึ่งจริงๆแล้ว social media mkt ก็อยู่บนพื้นฐานนี้เช่นเดียวกันคือมี bussiness objective และเลือกวางช่องทางให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด เพียงแต่ social media mkt คุณต้องใส่ความสนุกเข้าไป และกำหนดทิศทางของ conversation ที่อยากให้เกิดขึ้นรอบแบรนด์ของคุณ และตัองตัดสินใจให้ได้ว่าอยากให้ social media ทำงานอะไรให้คุณบ้าง เช่น คุณอยากสร้าง conversation ไหม? คุณอยากรักษา positive conversation ที่มีอยู่ไว้ ?หรือแม้แต่คุณอยากจะแก้ negative conversation ก็ว่ามา ในวันต่อไป เราจะได้เห็นว่า conversation ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง แล้ววันต่อไปก็จะลงแผนงาน social media mkt กันอย่างจริงจัง

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 6: The awareness phase

เมื่อวานเราได้เริ่มสร้าง objectiveให้กับแผนงาน social media marketing และพอจะเห็นหน้าตาของ social feedback cycle และความสำคัญของ consideration phase กันไปแล้ว วันนี้มาต่อที่ awareness phase ซึ่งเป็นหัวจักรใน purchase funnel ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักการตลาดนักเชียว ว่าจะเอา social web มา intergrated กับสื่อต่างๆ ในการสร้าง awareness ได้อย่างไร ก็เมื่อก่อน เอะอะอะไรก็พึ่งสื่อ mass อย่าง Tvลูกเดียว
จริงๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่เราสร้างการรับรู้ใน message ของสินค้าหรือบริการ และยึด message นั้นไว้ทอดสมอไปตามช่องทางต่างๆ ของ social media จากนั้นก็ไขก๊อก social feedback cycle โดยการสร้าง social conversation ดีๆ เจ๋งๆ เข้าไปใน loop แล้ว..วัดผล
ฟังเหมือนง่าย ความยากมีตั้งแต่ต้น คือสมองของเรายังไม่เชื่อว่า social web จะสร้าง awareness ได้หรือ? แบบฝึกหัดวันนี้ เค้าจึงอยากให้เราตอบคำถามเค้าหน่อย
Day 6 : one hour exercise
identify ช่องทางที่คุณเคยใช้ในการสร้าง awareness ออกมาก่อนนะ แล้วลองตอบคำถามดังนี้ ( เค้าแนะนำให้เขียนเลย โดยคำตอบต้อง specific, เหมาะสม และวัดผลได้ )
  1. list ออกมาเลยว่าช่องทางที่ใช้มีอะไรบ้างทั้งใช้อยู่และที่เคยใช้
  2. แต่ละช่องทาง หา success value, failure value หมายถึงค่าอะไรที่จะทำให้เราใช้ ไม่ใช้ เช่น ช่องทางสื่อทีวีสามารถเข้าถึงได้คลอบคลุมเท่านี้จึงจะประสบผลสำเร็จ ถ้าเท่านี้ถือว่ารับไม่ได้ล้มเหลว
  3. current value เป็นอย่างไร
  4. อะไรที่ทำให้เราตัดสินใจใช้ช่องทางเหล่านั้น
เป้าหมายหลักของการทำแบบฝึกหัดนี้คือ ให้คุณรู้ว่าเราต้องทำอะไรบ้างในการสร้าง awareness แล้วคุณจะเอาประสบการณ์เดิม ความเชื่อแบบเดิม มาใช้กับสื่อใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างได้อย่างไร

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

Week 2 : Social Feedback Cycle

Day 5 : The Purchase Funnel

หลังจากที่แวะเวียนไปเรื่องอื่นๆ มาหลายวัน เรามาเริ่มศึกษากันต่อ ใน week ก่อนๆ เราได้รู้จักเครื่องมือบางตัวที่สำคัญใน social web ไปแล้ว วันนี้เรามาเข้าเรื่องการทำการตลาดแบบ social media marketing กันเสียที
ในมุมมองของพวกเราอาจคิดว่า โห...ยากจัง ดูลำบาก วุ่นนวายวืดวือเหลือเกิด ตอนเรียนไม่เห็นมีวิชานี้ให้ลงเลย แต่สำหรับในมุมมองของผู้บริโภค (โดยเฉพาะรุ่นใหม่) social network เนี่ยมันช่างเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่ามัวร่ำไร ต้องรีบปรับตัวให้ทัน เดี๋ยวจะไม่ทันผู้บริโภคเค้า

ถึงแม้เราจะยังไม่ได้ลงสนาม social media marketing ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจว่าตราสินค้าของเราจะไม่เป็นที่พูดถึง ยังไงถ้าเค้าชอบหรือไม่ชอบของคุณเค้าก็ยังคงมี social nertwork ที่เป็นสื่อที่พวกเค้า generate ขึ้นมาเอง เป็นที่สร้าง conversation เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ เค้าอาจจะพูดกับตัวเองใน Blog comment หรือ share ได้โดยไม่ต้องรอ approved จากเจ้าของสินค้าเสียด้วย แต่จะดีกว่าไหม? หากคุณได้ร่วมวงสนทนากับเค้า สร้างมีพื้นที่ให้เค้าได้เมาท์ ได้ ( คอม) เมนท์กันเต็มที่ ทำให้เค้าได้มีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ ไม่ต้องไปฟังแต่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ของคุณ ซึ่งบางที่ก็ใช่จะเป็นเรื่องดี การที่คุณได้ร่วม share content กับพวกเค้ายังเปิดโอกาสให้คุณได้มีโอกาสแก้ตัวได้อีกด้วย และเค้าเองแหล่ะที่จะเป็นกระบอกเสียงแทนแบรนด์ในการแก้ต่างให้ ซึ่งแน่นอนใน Traditional media ทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่คล่องตัวแถมยังต้องมีงบเผื่อไว้ด้วย

มาดูกันก่อนว่าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคใน social nerwork ได้ตรงไหน มาดูที่ The classic purchase funnel
The classic purchase funnel
ซึ่งเป็นรูปแบบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะเห็นว่าก่อนการซื้อสินค้า ผู้บริโภคจะรับรู้ในตราสินค้าก่อน (awearness) จากนั้นจึงพิจารณาไคร่ครวญว่าจะซื้อดีไม่ซื้อดี ตรงกระบวนการนี้คือ consideration phase ก่อนจะไปสู่การซื้อ (purchase) consideration phase นี้แหล่ะสำคัญนักเชียว บางที สร้างสื่อทีวีซะเริ่ดสุดดี แต่มาเจอตอ ก็ตอนกระบวนการนี้แหล่ะ เพราะผู้บริโภคมักจะไม่เชื่ออะไรง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว เค้าจะหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ และหากเป็นการบอกต่อหรือ word of mouth เนี่ยยิ่งเชื่อกันสนิทใจ เคยเจอกะตัวเองเหมือนกันเวลาไปซื้อของที่ห้าง ตั้งใจจะซื้อครีมบำรุงอยู่ที่เคาน์เตอร์เครื่องสำอาง เล็งๆอยู่ แค่มีสาวๆ หน้าใสกว่าเราเมาท์กันเสียงดังว่าจะซื้อครีมยี่ห้อ xxx เพราะติดใจใช้ดี แค่เนั้ยแหล่ะเดินตามสาวนางนั้นแทบไม่ทัน นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ consideration phase

การวิจัยของ Forrester เค้าสรุปประโยคที่น่าสนใจจากปากของผู้บริโภคยุคนี้ไว้ว่า " ไม่ว่าอะไรที่ได้เห็น ได้อ่าน ได้ยินมาจากทีวี หนังสื่อพิมพ์ นิตยสาร ฉันสามารถตรวจสอบได้จาก internet"

ดังนั้นการทำการตลาด social media marketing จึงต้องให้ความสำคัญกับ consideration phase แผนการตลาดดิจิตอลที่ได้ผลจะเชื่อมต่อระยะเวลาระหว่าง awearness กับ consideration phase ได้อย่างเนียนสนิท

The social feedback cycle

จากภาพแสดงให้เห็นว่า ใน perchase จะเกิด post perchase ซึ่งผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้นแล้ว มีการบอกต่อ หรือเกิด word of mouth บ้างเข้าไปแสดงความคิดเห็นใน social we ที่ตนเองมี network อยู่ การกระทำเหล่านี้ส่งผลต่อ consideration phase ของผู้บริโภคคนอื่นๆ และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในโลก internet ช่วงเวลาตรงนี้น เราสามารถเข้าร่วมวงสนทนากับผู้บริโภคได้ แต่ต้องเข้าไปอย่างแนบเนียนด้วย Trust and Caring ไม่ใช่เข้าไปตะโกนขายของปาวๆ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้จะเป็นเสมือน Listening platform เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีและประสบการณ์ร่วกันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (ซึ่งในวันต่อๆไปเราจะได้เขยิบเป็น talking platform และsharing platform ในบทต่อๆ ไป ใจเย็นๆ)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือได้เริ่มทำการตลาด social media marketing อย่างจริงจัง โดยหัวใจของการดำเนินงานคือ การสร้าง" participant " ใน " consideration phase " ให้เกิด social feedback cycle อย่างมีประสิทธิภาพต่อตราสินค้าหรือบริการ

Day 5 : one hour exercise

ตอบคำถามต่อไปนี้ในใจนอกใจก็ได้ แต่ต้องจริงจัง

  1. ชื่อสินค้าหรือบริการ หรือแบรนดที่คุณต้องการทำการตลาด social media marketing คืออะไร?
  2. bussiness objective คืออะไร? ขอให้ชัดเจน เป็นตัวเลขเหมือน ROI
  3. เป้าวัดความสำเร็จของแคมเปญที่คุณจะทำคื่ออะไร มีอะไรบ้าง จงแจกแจง
  4. เป้าวัดในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
  5. สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับเป้าหมายความสำเร็จของแคมเปญนี้

เมื่อได้คำตอบแล้ว เช็คในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. bussiness objective ของคุณ ฟังหรืออ่านแล้วคนอื่นเข้าใจไหม?
  2. bussiness objective ของคุณเฉพาะเจาะจงชัดเจนไหม? เช่น ต้องการสร้างยอดขายให้ได้ 200000 ชุด ภายในสิ้นปี 2552
  3. เป้าวัดของคุณวัดได้ไหม? อาจงงว่าจะวัดอย่างไร ง่ายๆ ในโลก internet สถิติเป็นเรื่องง่ายและ real time ยกตัวอย่างเช่น มีคนเข้าไป comment กี่ comment แยกเป็น positive comment และ negative หรือถ้าคุณใช้ระบบ SEO (search engine optimization ) ก็ตั้งเป็นเป้าวัดได้ มีใครคลิกเข้าหาคุณกี่คลิกต่อวัน คุณวัดได้ การวัดผลจาก social media ทำได้มากมาย จะเรียนรู้กันต่อไปค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

กฎ 70/20/10 เพื่อการตลาดดิจิตอล

กฎ 70/20/10 เพื่อการตลาดดิจิตอล
ผู้เขียน: มาร์ค เรนชอว์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตอล เป็นรองประธานบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการปฏิบัติการทางดิจิตอลของลีโอ เบอร์เนทท์ /อาร์คเวิลด์ไวด์

ฝ่ายการปฏิบัติการทางดิจิตอลของลีโอ เบอร์เนทท์ /อาร์คเวิลด์ไวด์ ได้นำเสนอ "กฎ 70/20/10"
เพื่อช่วยเหลือนักการตลาดในการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่จากที่เคยอยู่แต่ในสนามทดสอบมาสู่ตลาดอันยุ่งยากซับซ้อนของการตลาดดิจิตอล อันดับแรก กำหนดงบประมาณการตลาดผ่านดิจิตอลของคุณ (ไม่ใช่งบประมาณการตลาดทั้งหมด) และแบ่งงบประมาณเหล่านั้นออกเป็น 3 ส่วนโดยส่วนแรกแบ่งเป็น 70% อีกสองส่วนที่เหลือแบ่งเป็น 20% และ 10% ตามลำดับ


งบ 70% แรกเพื่อปรับปรุงกิจกรรมดิจิตอล

งบประมาณส่วนแรกซึ่งมีจำนวนมากที่สุดควรนำมาใช้เพื่อสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อแผนการของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดผลสำเร็จบรรลุล่วงมากที่สุดในรอบปีหรือสองปีของแผนการ นั่นรวมถึงกิจกรรมดิจิตอล เช่น วีดีโอบรอดแบรนด์ โฆษณาผ่านวิดีโอและริชมีเดีย และการตลาดผ่านการเสิร์ช เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้สามารถพิสูจน์ผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน และนี่คือที่ที่คุณสามารถปรับปรุงความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง

20% เพื่อเรียนรู้โอกาส
กำหนดงบประมาณอีก 20% สำหรับสื่อที่กลายเป็นที่นิยมหรือเริ่มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมเหล่านี้ เช่น การตลาดทางโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และเกมบางประเภท กิจกรรมเหล่านี้มีคุณค่าเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยเปิดโอกาสการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในพื้นที่ใหม่ๆ หรือแม้แต่ในสถานที่ที่คุณดำเนินงานอยู่ก่อนแล้วก็ตาม การลงทุนในกิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ภายในเดือนนี้หรือไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ต่อแผนการในอนาคตของคุณ และมีส่วนช่วยให้คุณล้ำหน้าเหนือคู่แข่งได้เช่นกัน

10% ที่เหลือเพื่อรับประกันการตลาด
ไว้สำหรับกำหนดทิศทางการลงทุนในอนาคตและสร้างแผนการตลาดด้วยการทดสอบพื้นที่ทางดิจิตอลที่แม้แต่ผู้บริโภคเองก็ยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าที่ควร นี่เหมือนวิธีการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้บริโภค หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประเมินโอกาสการตลาดในช่วงเวลาตามจริง ถ้าคุณสร้างการลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้ตั้งแต่แรกเริ่ม คุณจะได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทคโนโลยีเหล่านั้นกลายเป็นกระแสฮอตฮิตขึ้นมาทันใด

กฎ 70/20/10 สามารถนำมาใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางสำหรับช่องทางที่คุณสามารถลงทุนได้ทั้งเวลาและเม็ดเงินภายในพื้นที่ดิจิตอล ด้วยกฎเกณฑ์ทั้งหมดนี้ คุณจะสามารถสร้างทั้งโอกาสและไอเดีย และนำมาประยุกต์ใช้กับเป้าหมายธุรกิจและการตลาดทั้งหมดของคุณได้

นอกจากนี้ กฎ 70/20/10 ยังช่วยให้คุณสามารถตอบคำถามที่ว่ากลยุทธ์ดิจิตอลของคุณเป็นอย่างไรได้ด้วยวิธีการที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคi อีกด้วย เค้าว่างั้น


วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

Digital Marketing การตลาดภาคบังคับแนวใหม่ ภาค2

เรื่องของความคิดพื้นฐานบางประการในการทำการตลาดแบบดิจิตอล ยังมีต่อ หลังจากที่เราต้องเตรียมร้อม เตรียมใจ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงไปหลายประการ ยีงมีอีกหลายอย่างที่เราต้องปรับเปลี่ยน ว่ากันต่อเลย


from Intergrated marketing (imc) to unified marketing
จากการตลาดแบบบูรณาการสู่การตลาดแบบมีเอกภาพ

งงมั้ยเดี๋ยวสรุปง่ายๆดีกว่า
imc = การตลาดที่เน้นความเสมอต้นเสมอปลายของ message
unified = การตลาดที่เน้นที่ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของ consumer อย่างสม่ำเสมอ


มายุคนี้แล้วผู้บริโภคเค้าไม่ได้สนใจ brand image ซักเท่าไหร่แล้วมั้ง แปลว่าอะไรเค้าก็ไม่รู้ รู้สึกได้บ้าง ไม่รู้สึกได้บ้างว่า brand นี้มี image แต่เค้าสนใจความต้องการความชอบและข้อมูลส่วนตัวของเค้าจะเป็นที่สนใจของ brand หรือเปล่า ประมาณถ้าเธอจีบฉัน ฉันก็สนเธอนะ ดังนั้นการตลาดในยุคนี้คือ imc อย่างเดียวไม่พอ ต้องหันมาใช้แผนการที่ซับซ่อนแยบยล ในการ connect กับผู้บริโภคแบบรายบุคคล พร้อมกับการเปลี่ยนจากสร้าง brand image เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ร่วมที่ดีกับพวกเค้า

from data blind to data driven
จากยุคเมินเฉยกับข้อมูลสู่ยุคการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
นอกจากข้อมูลเรื่อง insight ของผู้บริโภคที่เป็นประเด็นฮิตของนักการตลาด ต่อไปนี้มีข้อมูลใหม่ที่ต้องรับเข้ามาใหม่กับการตลาดยุคดิจิตอลมากมาย จะว่ากันในภายหลัง

from post test to real time measurement
จากการวัดผลหลังแคมเปญสู่การวัดผล ณ บัดนาว
ต่อไปนี้การวัดผลหลังแคมเปญก็จะเหมือนการขับรถไปข้างหน้าแล้วส่องแต่กระจกหลัง แต่สำหรับโลกดิจิตอล ระยะเวลาระหว่างจุดที่ media ถูกเผยแพร่กับจุดที่ผู้บริโภคมีผลตอบรับแคบลงมากแทบจะเรียกได้ว่าวัดผลได้ทันที ตัวอย่างง่ายๆ บาง Ad banner ที่ post ลงไป อาจทราบได้ทันทีว่ามีคนสนใจเข้าไปคลิกแล้วกี่คน เรียกได้ว่า ต่อไปข้อมูล real time จะเป็นที่กระหายของนักการตลาดแบบดิจิตอล เพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อปรับปรุงได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการตัดสินใจทางการตลาดโดยมีฐานข้อมูลจากข้อมูลย้อนหลัง ไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคการตลาดแบบดิจิตอล

และสุดท้าย...
from patial ROI to optimization
จากการได้คืนเพียงบางส่วนสู่การสร้างโอกาสและได้ผลประโยชน์สูงสุด
เพราะช่องทางดิจิตอล เป็นการสื่อสารแบบเจาะจงถึงตัวผู้บริโภคเป็นรายบุคคล ทำให้ทุกอย่างในส่วนผสมทางการตลาดวัดผลได้ ปรับปรุงและพัฒนาได้ทันที แม่นยำ และตรงจุด ดังนั้นเม็ดเงินที่ลงทุนไป return of investment ได้อย่างคุ้มค่า ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง















วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

Digital Marketing การตลาดภาคบังคับแนวใหม่

Digital Media Marketing คือการตลาดในอนาคตที่เกิดขึ้น เมื่อการดำเนินการด้านการตลาดทั้งหมดผ่านช่องทางดิจิตอล ซึ่งสื่อดิจิตอลเป็นสื่อที่มีรหัสระบุตัวผู้ใช้ได้ ทำให้เหล่านักการตลาดสามารถสื่อสารแบบ 2 ทาง ( two -way communication) กับลูกค้าได้เป็นรายบุคคล


อย่าได้ถามว่าหลักการเป็นอย่างไร เพราะรูปแบบเฉพาะของ Digital Marketing ที่ท้าทายสำหรับนักการตลาดและนักโฆษณาทั้งหลายคือ


  • Digital M arketing ไม่มีลักษณะตายตัว
  • Digital Marketing ผสมผสานได้
แต่ที่แน่ๆ เราต้องมีการปรับความคิดพื้นฐานบางประการทำการตลาดแบบดิจิตอลกันเสียหน่อย เพราะเราอยู่บนโลกของ Old Media มากันนานพอสมควร


from audience to participants

เปลี่ยนจากผู้ดูมาเป็นผู้มีส่วนร่วม
เมื่อก่อนเราอาจเคยชินกับคำว่า ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร แต่ต่อไปนี้ การตลาดแบบดิจิตอลจะมีแต่ผู้ร่วมวงสนทนา สิ่งสำคัญสำหรับการตลาดแบบดิจิตองคือ อย่าปล่อยให้ผู้บริโภค เป็นเพียงผู้รับสารแต่ฝ่ายเดียว


from impression to engagement

เปลี่ยนจากเป้าหมายของการเห็นสื่อ
มาเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกและมีประสบการณ์ร่วม
สื่อดิจิตอลอาจมีคนเห็นมากไม่เท่าสื่อ mass แต่เป้าหมายหลักไม่ใช่จำนวนผู้ชม เราต้องเปลี่ยนมุมมองและพาตัวเองให้พ้นจากเรื่องเดิมๆของ old media เช่น Reach หรือ Frequency แผนงานการตลาดแบบดิจิตอลคือแผนงานที่ดึงผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดต่างหาก


from broadcast to addressable

เปลี่ยนจากการแพร่ภาพกระจายเสียงสู่การเจาะถึงตัวผู้บริโภค
การตลาดแบบดิจิตอลอาจไม่เหมาะกับการเข้าถึงผู้บริโภคแบบ mass แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้หากเราเลือกช่องทางที่เหมาะสมและเร้าใจ


from schedules to freedom

ปลดแอกข้อจำกัดด้านเวลาสถานที่สู่ยุคไร้เวลาและพรมแดน
สื่อดิจิตอลมีความยืดหยุ่นคล่องตัว เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา หลุดพ้นจาก format เดิมๆ และที่สำคัญ ใครๆ ก็สร้างได้

from marketer to consumer
จากยุคนักการตลาดสร้าง content สู่ยุคผู้บริโภคริเริ่ม ควบคุม content เอง
ต่อไป consumer จะสร้าง Blog หรือ Vlogs กันมากขึ้น พวกเค้าเหล่านี้จะกลายเป็นผ้สร้างและควบคุม content เอง ในแง่ของการตลาดแบบดิจิตอลนักการตลาดมีบทบาทเพียงแค่ว่งเสริมและให้รางวัลแก่ consumer ที่สร้าง content ได้สอดคล้องกับ brand เท่านั้น


from push -marketing to opt-in and share
จากการตลาดแบบยัดเยียดสู่การเลือกสรรและแบ่งปัน

เมื่อก่อนเราอาจว่งอีเมล์ให้ลูกค้าแบบไม่ลืมหูลืมตา จนโดนตราหน้าว่าเป็นอีเมล์ไม่ได้รับเชิญ แต่ในสมัยนี้ผู้บริโภคสามารถใช้เทคโนโลยีป้องกัน spam ได้ ถ้าไม่อยากโดนตีตราว่าเป็น spam จงตระหนักว่าเราควรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคก่อน ( opt-in )และสิ่งที่ส่งสารถึงพวกเค้าก็แน่นอนต้องเป็นเรื่องที่พวกเค้าสนใจ


from traditional media to new media planning
จากการวางสื่อแบบเดิมๆสู่การวางแผนสื่อดิจิติอล
ต่อไปนี้ media planner จะต้องทำงานหนักขึ้น ต้องพร้อมและเข้าใจประเภทและลักษณะเพราะเมื่อนักการตลาดผันงบโฆษณาจากสื่อแบบเดิมเป็นสื่อดิจิตอลมากขึ้น อย่าลืม ชัยชนะเป็นของผู้เตรียมพร้อมเสมอ





เรื่องจริงหรือเรื่องหลอก?

ไม่นานมานี้ได้ forward mail จากเพื่อนร่วมวงการ เป็นคลิปแอบกองถ่ายทำโฆษณาครีมอาบน้ำยี่ห้อหนึ่ง เกือบเนียนดีเชียวล่ะ แต่ตั้งใจเห็น product มากไปนิดนึงเลยจับได้ว่า Viral แหงๆ แตไม่แน่ในแง่ของผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ก็ได้ ถ้ามีโฆษณาตัวนี้ออกมาทางสื่อ TV จริงๆก็คงจะดี แต่คงไม่ซี๊ดซ้าดดด ขนาดนี้แน่นอน เป็นข้อดีของ Vial ข้อหนึ่งเหมือนกัน คือไม่ต้องผ่านท่าน กบว.

Digital Media becomes the mainstream


Digital Media becomes the mainstream
โลกที่กำลังเปลี่ยนไป


คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราได้มาถึงยุคที่ช่องทางการสื่อสารส่วนใหญ่กลายเป็นช่องทางดิจิตอล โลกแห่งสื่อกำลังจะเปลี่ยนไป และเติบโตไวอย่างก้าวกระโดด จากสื่อดั้งเดิม ( old media ) สู่ ยุคแห่งสื่อรายบุคคล
ที่เปิดโอกาสให้ consumer มีสิทธิ์ มีเสียง และร่วมสร้างสรรค์ โดยหลุดพ้นอำนาจการควบคุมของนักการตลาด ( เกือบ) สิ้นเชิง แม้ ณ เวลานี้ สื่อดั้งเดิมยังมีมูลค่าสูงกว่า digital media อยู่ 1: 10 แต่อัตราการเติบโตเร็วกว่าถึง 4 เท่าตัว ในขณะที่สื่อดั้งเดิมมีแต่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง

นับจากนี้ไป...เราจะเห็น content มากมายหลากหลาย จากผู้ผลิตสินค้าและผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบที่สนุกสนาน วาไรตี้ สร้างสรรค์มากขึ้น และอาจจะ " เนียน" มากขึ้น จนแยกไม่ออกว่าเป็น content ของสินค้าหรือผู้ใช้กันแน่ ความหวือหวาน่าติดตามจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะสื่อในรูปแบบของวิดีโอ มีเสียง มีภาพเคลื่อนไหว และแสดงผลบนจอได้หลายรูปแบบ แพร่กระจายสู่ผู้บริโภคได้ทุกที่ ทุกเวลา ขอบเขตของโลกความจริงและโลกเสมือนจริงมีความทับซ้อนกันมากยิ่งขึ้น มนุษย์จะใช้เวลาสลับไปสลับมาระหว่าง 2 โลกยิ่งขึ้น

และนี่ คือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมในระยะยาวและ
หยั่งลึก และทวีความสำคัญ ชัยชนะ ย่อมเป็นของผู้มีความพร้อมเสมอ !



วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 4: Social Medai MArketing An Hour A Day

Thursday :
RSS


วันนี้ง่ายหน่อยมีแค่หัวข้อเดียว แต่สำคัญไม่เบาใน social web นั่นคือ RSS ( อย่าสับสนว่าเป็นค่ายเพลง ) ใน 3 วันที่ผ่านมา concept ของ social web ที่เราได้ลองทำแบบฝึกหัดเป็นแบบ“ You go out and find it ” แต่ RSS เป็นประสบการณ์ใหม่แบบ “ It comes to you when it is fresh ”



RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ หนึ่งใน web feed ที่ให้บริการบนระบบ internet จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิด webเข้ามา พูดง่ายๆ คุณ ไม่ต้องทำอะไร เรื่องราวสดใหม่ ส่งมาถึงคุณแบบ delivery เลยทีเดียว

คุณอาจสงสัยว่าต่างอะไรจาก email ก็ RSS เป็นการส่งข่าวสารที่ผู้รับเต็มใจจะรับไงล่ะ จะรับอันไหน เลือกได้ เก็บได้ เลิกเมื่อไหร่ก็ได้ จะอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ ( ไม่งั้นจะคลิกขอ feed ไปทำไม )

รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSSสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายนี้ หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ


วิธีการรับ RSSกรณีที่ยังไม่มีโปรแกรม RSS ต้อง Download โปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องก่อน
· RSS Reader (www.rssreader.com)

An hour exercise

ลองกลับเข้าไปดูใน

Twitter
Boing Boing
Seesmic

ที่ผ่านมาเราไม่เคยสนใจ RSS เลยใช่มั้ย คราวนี้อย่ามองข้าม ลองสมัครรับ RSS หรือ Atom Add เข้าไปใน feed list ที่อยู่ที่เดียวกับ Favarite ซ้ายมือคุณน่ะแหล่ะ แต่อาจจะว่างเปล่าอยู่ แต่พรุ่งนี้ลองมาเปิดดูอีกทีสิ คราวนี้จะเริ่มเห็นละว่ามีอะไร update จาก web หรือ Blog ที่เราขอรับ Feed หรือเปล่า

Tip

หรือลองของ http://www.manager.co.th/ ก็ได้สนับสนุนของไทยบ้าง หรือก็ที่ blog ของ pookie นี่แหละ feed เลย อิอิ


วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

Day 3 : Social Media Marketing An Hour A Day

Wednesday :
Microblogs and Tagging

Microblog
ก็คือ Blog เล็กๆ ที่เอาไว้แปะอะไรสั้นๆไม่เกิน 140 ตัวอักษร จะใช้บ่น ก่น ด่า บอกเล่า กระจายข่าว หรือแค่อยากบอกใครรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ ยังไงก็ได้ไม่ว่ากัน

Tagging คือป้ายชื่อหรือป้ายกำกับบทความต่างๆที่เราเขียนขึ้นมาใน blog หรือ social web ให้Search Engine ได้เก็บข้อมูลตามคำค้น (KEYWORD) ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งครั้งแรกๆใช้กับเว็บบล็อก ต่อมาTag ก็มีออกแบบและการนำไปใช้กับเว็บไซต์ทั่วๆไป

เอ แล้ว microblog กับ Tagging มันเกี่ยวอะไรกัน มันเหมือนกันตรงที่สั้นเร็วกระชับเหมือนกัน
Social web สร้างจากส่วยย่อยที่มาปะติดปะต่อกัน พวกนี้แหล่ะ แต่ website ส้รางมาจากส่วนที่ปะติดปะต่อกันหลายๆส่วน อธิบายไปก็อาจจะงง แวะชม microblog เหล่านี้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น



http://twitter.com/
http://pownce.com/
http://tumblr.com/
http://plurk.com/

แล้ววิเคราะห์ประเด็นต่อไปนี้
1. อะไรทำให้คนหนึ่งคอยติดตามความเคลื่อนไหวของคนอีกคนหนึ่ง
2. เราจะสมัครใช้บริการเหล่านี้ได้อย่างไร จะใช้ส่วนตัวหรือเอามาใช้ประโยชน์ทางการตลาดอย่างไร

ขอแนะนำให้เริ่มที่ Twitter สุดฮิต เพราะใช้ง่ายหน้าตาดี Concept ของ Twitter มาจาก concept ที่ว่า What are you doing? คุณสามารถบอก เพื่อนๆของคุณว่าขณะนี้ คุณทำอะไรอยู่ที่ไหน ด้วยตัวอักษรไม่เกิน 140 ตัวอักษร ยกตัวอย่างจะติดตามเรื่องpookie twitter ที่

http://twitter.com/pookiepookie ก็จะรู้ความเคลือนไหว pookie สำหรับช่องทางการตลาด ในบริษัทธุรกิจต่าง ๆ สามารถบอกรายละเอียดสินค้าและบริการให้กับลูกค้าหรือคนที่ Follow ได้

เสร็จแล้วเรามาแวะชม website ที่ให้บริการด้าน Tagging

http://www.stumbleupon.com/
http://del.icio.us/
http://ma.gnolia.com/

ตัวที่น่าสนใจคือ delicious เรียกว่าเป็นบริการ social bookmarking ผู้ใช้สามารถเก็บ favorite website ได้มากมาย แบ่งเป็น category ตาม tagging ที่เจ๋งก็คือ เราจะเห็น ranking ของ favorite website ที่หลายๆคนเก็บเข้ามา เราก็จะได้เห็นว่ามี website เจ๋งอันไหนที่เรายังไม่เคยเห็น นับว่าเป็นการขยายโลก online ของเราให้กว้างใหญ่ขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ลอง strubleupon ก็ไม่เลว ดูแนวดี ใช้ง่าย มีภาพโชว์ แถมมี review ด้วย

ถ้าคุณแน่อย่าแพ้ tagging
ลบไปเลยไอ้ที่เคยเก็บ favorite website ฝั่งซ้ายมือนี่แหล่ะ แล้วใช้บริการ delicious หรือ stumbleupon



ปล. จะสังเกตว่าบทความนี้แปะ tag ว่า Social Media Marketing

Day2 : Social Media Marketing An Hour A Day

Tuesday:
The web come alive with multimedia

เดี๋ยวนี้ web ไหนๆก็ใช้ multimedia และมีบทบาทใน social web มากขึ้นเรื่อยๆ social web ดังๆ ก็เกิดมาด้วเพราะ multimedia อย่าง youtube, flickr, photobucket...etc

Today's one hour exercise

อย่ามัวตื่ตา ตื่นใจไปกับ web ที่อยากให้เข้าไปดูข้างล่าง จุดประสงค์คืออยากใก้ศึกษาถึง content ที่ web นำเสนอและเปิดโอกาสให้ผ้ใช้ได้มี่ส่วนร่วมในการ " share " ประสบการณ์
บางอย่างอาจดูไร้สาระ และมีอีกไม่น้อยใน web เหล่านี้ที่ทำให้เราได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น จนคุณต้องอึ้งไปบ้างก็มี

ลองแวะชม website เจ๋งๆ เหล่านี้

http://www.flickr.com/
http://www.photobucket.com/
http://www.youtube.com/
http://www.seesmic.com/
http://www.metacafe.com/

แต่อย่าลืมพิจารณาประเด็นต่างๆ ตามนี้ด้วย

  1. เขาเสนอบริการอะไร
  2. ใครเป็นขาประจำของ web และทำไม
  3. แล้วเราจะร่วมสร้าง content กับพวกเค้าได้ไง
  4. คุณเริ่มติดลมกับเค้ามั่งหรือเปล่า และชักอยากจะเข้าไปร่วมวงกับเค้าบ้างเข้าไงแล้วหรื่อเปล่า
  5. แรงจูงใจทางสังคมด้านไหนที่ทำให้ web เหล่านี้แจ้งเกิดได้
  6. ลองดึง contentมาสักอัน แล้ววิเคาระห์ว่าอะไรคื่อแรงจูงใจที่ทำให้พวกเค้า post หรือ share ใน web และผลลัพธ์ทาได้จากการ post

มาถึงตรงนี้แล้วจะไม่ลองเข้าไปร่วมสนุกกับ web เหล่านี้หน่อยหรือ ลองนึกหา content แล้ว share ให้ผู้คนในสังคมออนไลน์ได้เห็น ความสนุกมันอยู่ตรงที่ "เราได้เห็นในสิ่งที่ตัวเองสร้างออนไลน์ และมีคนอื่นได้เห็นด้วย" มันเป็นควมสุขเล็กๆที่คนธรรมดาจะหาได้ เผลอๆ อาจดังโดยไม่รู้ตัวก็ได้นะ ยกตัวอย่างเช่น 2 อาตี๋เด็กหอที่ลิปซิงค์เพลงของ black streer boys จนดังในชั่วข้ามคืน ผลลัพธ์ โนเกียจีน ดึงสองอาตี๋นี้ไปเป็น presenterเรียบร้อย รับไปหลายล้านหยวน

http://www.youtube.com/watch?v=YBlCtqsat-w

social connection คือ ประเด็นที่สำคัญ ใน social web พูดได้ว่า The act of sharing สำคัญกว่าสิ่งที่ถูก share หากเปรียบกับสื่อแบบเดิมๆอย่างทีวีแล้ว เรียกว่าคนละโลกเลยทีเดียว เพราะสื่อทีวีเป็นอะไรที่ทุกๆอย่างถูกควบคุม ตั้งแต่เนื้อหายันเวลา แถมยํงโดนบังคับให้ดูอีกด้วย

วันนี้มีโบนัส

ในข่องทางของการตลาด มีการศึกษาว่ากลุ่มคนที่ชอบ webประเภทนี้จะใช้เวลาขลุกอยู่กัยมันมากกว่าสื่อประเภทอื่น แน่นอนโดยเฉพาะทีวี แล้วนักการตลาดจะทำอย่างไร

case ที่น่าสนใจคือ Nike+ลอง search เข้าไปชม สุดยอดจริงๆ แต่บารมีไนกี้เค้าสุดยอดอยู่แล้ว สินค้าที่เรามีอยู่นี้ล่ะ จะทำอย่างไรดี อันนี้ท้าทายกว่าถ้าทำได้เท่าไนกี้ แสดงว่าเราสุดยอดกว่า ขอบอก


วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

1 Hour a day with Social Media Marketing : Day1




ชัยชนะเป็นของผู้เตรียมพร้อมเสมอ


ต้องขอขอบคุณหลาย DAVE EVANS ที่เขียนหนังสือ Social Media Marketing An Hour A Day ดีๆมาให้อ่าน ทำให้รู้ว่าSocial Media Marketing ไม่ใช่เรื่องยาก แต่กลับสนุก และสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้คุ้มค่า

ขออนุญาตปฎิบัติตาม guideline An Hour A Dayของคุณพี่ DAVE เพราะด้วยองค์ประกอบของเรื่องนี้มีมากเหลือเกิน และเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ จึงแยกแต่ละ topic ไว้ให้ลองเรียนรู้เป็นวันๆกันไป ใช้เวลากันแค่วันละชั่วโมง รับรองสมองไม่รับภาระหนักจนเกินไป แถมสนุกด้วย

พี่ DAVE แกเขียนไว้เยอะมาก บางทีก็เยอะเกินจนเก็บไม่ทัน เพราะประสบการณ์เค้าล้นเหลือจริงๆ ดังนั้นจึงขอถ่ายทอดต่อในแบบฉบับของตัวเอง คือ เอาสูตรของเค้ามาแล้วปรุงให้กิน ( อ่านเข้าใจ) ง่าย

อย่าพูดพร่ำทำเพลง เริ่มกันเลยดีกว่า สำหรับบทเรียนวันแรก สัปดาห์แรก ของเดื่อนแรก ( ดูท่าหลายเดือน ใบ้ให้ว่า 3 เดือน 90 บทเรียนอย่างต่ำ เพราะฉะนั้นขอให้อดทนอ่านและศึกษา คนเขียนเหนื่อยกว่านะแต่สนุก)

Month 1
เตรียมความพร้อม สู่ Social Marketing


Week 1
Monday : The Writen Word

ข้อความ คือองค์ประกอบสำคัญของ Social Media และในโลกของ Social Network เต็มไปด้วย text
ซึ่งสามารถอ้างถึงได้ และมันอาจจะฝังอยู่ตลอดไป ไม่ว่าเราอยากจะให้มันอยู่หรือไม่


1 Hour Exercise : Blogs กับ Wikis


Blog คือ (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง

เรียกได้ว่า Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด แล้วเปิดโอกาสให้ผู้อ่าน comment ได้

Blog จึงเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านระบบการ comment ของบล็อกนั่นเอง

Wikis คือ เป็นภาษาพื้นเมืองฮาวายแปลว่า เร็ว (quick) เป็นเวปเพจที่ต้องการให้ใครๆสามารถสร้าง/แก้ไขเวปเพจจาก web browser ได้ จุดประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการแชร์ข้อมูลความคิดเห็นสาธารณะของผู้ใช้ จัดว่าเป็นสารานุกรมออนไลน์ ที่ผู้อ่านสามารถร่วมกันแก้ไขเนื้อหาในสารานุกรมนั้นได้ด้วย โดยมีเครื่องมือที่ชื่อว่า
มีเดียวิกิ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแก้ไข

Blogs และ Wikis คล้ายกันตรงที่ผู้อ่านสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ แต่ Blog เจ้าของ blog เป็นคนสร้าง content และผู้อ่านสร้าง comment จนเกิด coneversation ได้ แต่ wiki ผู้อ่านสามารถแก้ไขเพิ่มเติม content ของผู้สร้างได้ แต่ผลลัพธ์ที่ปรากฎจะเป็น content ที่เสร็จสิ้นแล้ว


กันงงยกตัวอย่างกันดีกว่า


Blog - Original post ประเทศไทยอยู่ในยุโรป
Wiki - Original post ประเทศไทยอยู่ในยุโรป

Blog - Final result ตก ป.2 เหรอครับ ประเทศไทยอยู่ในเอเชียต่างหาก
(ความคิดเห็น 14/05/50 pookie )
Wiki - Final result ประเทศไทยอยู่ในเอเชีย
(แก้ไข 14/05/50 pookie)

จะใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร

Blog เป็นที่ที่สร้าง conversation กับ consumer ในสิ่งที่เค้าสนใจ
Wiki เป็นที่ที่สร้าง สารานุกรมให้สินค้า โดยให้ consumer เข้ามาร่วมแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้


Exercise : Blogs กับ Wikis

เข้าไปดูหน้าตา blog ดังๆ เหล่านี้ ( key คำเหล่านี้ใ google search ไม่ต้องพิมพ์ url ให้เมื่อย)



Boing Boing
Social Media Today
Mashable

แล้วลองวิเคราะห์ว่า...

1. concept ของ blog คืออะไร
2. ใครหนอที่จะอ่าน แล้วทำไมถึงอ่าน
3. คนอ่านเป็น consumer หรือเปล่า แล้วเค้าจะอ่าน blog ไหนอีก
4. เราจะเข้าร่วม conversation กับพวกเค้าเหล่านี้ได้ยังไง
5. เอ...อ่านแล้วติดลมมั้ย จะ post มั่งดีมั้ย
6. มองเห็นช่องทางทางการธุรกิจบ้างไม้เอ่ย

หมดเวลาไปแล้ว ครึ่งชั่วโมง อย่ามัวแต่เพลินไปกับ blog มีเวลาเดี๋ยวค่อยกลับไปอ่าน อ่ะ เข้าไปดูหน้าตา wiki ดังๆ เหล่านี้ ( key คำเหล่านี้ใน Google search ไม่ต้องพิมพ์ url)


Wikipedia
One laptop per child
IBM WIkis

แล้วลองวิเคราะห์ว่า...
1. content คลอบคลุมทุกช่วงเวลามั้ย
2. ใครทำ
3. เห็น update section หรือส่วนที่แสดความคิดเห็นมั้ย ถ้าไม่ จะเข้าดูได้ไงว่าข้อความมีการแก้ไขอย่างไร
4. มองเห็นช่องทางทางการธุรกิจบ้างไม้เอ่ย

จบตรงนี้ แต่อย่าให้จบแค่นี้ ลองศึกษาวิธีการสร้าง Blog ซึ่งไม่ยากเลย แล้วเขียน content เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณ แต่คงต้อง create กันสักนิด ว่าจะทำยังไงที่จะดึงให้ consumer มาร่วมวงสนทนาได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะแจ้งว่าอยากปรับปรุงสินค้าใหม่ อยากได้ไอเดียเริ่ด หรือ คุณอยาก launch สินค้าใหม่ คุณอยากหาดารามาเป็น presenter อยากให้ผู้ใช้ช่วยกันโหวต เรื่องนี่ไม่ยากถ้าคุณเป็นพวกช่างเมาท์ เรื่องที่ตามมาคือ คือ จะ promote Blog ของเราอย่างไรให้ consumer รับรู้ จะว่ากันอีกที...

วันต่อไป เราจะก้าวสู่องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างของ Social media คือ Multimedia ต่อไปคือ RSS อย่าเพิ่งเง็ง งง+เซ็ง พอจบ 1 week เราจะรู้แล้วว่าไอ้พวกนี้มัยรวมๆเป็น social media ได้ยังไง

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

Stand Out in the Digital Landscape
Among the Majority That's Not 'Digitally Special'? Never Fear. Here's How to Have a Career That Ultimately Thrives
By Rishad Tobaccowala
Getting digitally savvy to survive

Live it
The only way to understand the impact of digital change is to embrace swirling bits. Make sure you A) have a mobile phone that allows you to search the web and use mapping software such as Google Maps; B) own a DVR; C) spend an hour a week with social-communication media (such as Facebook and MySpace) or personal-expression media (such as blogs or Flickr); and D) watch or listen to music and videos online for an hour a week using music services such as Pandora and video services such as Joost and Veoh or the broadband sites of your favorite networks. Follow the very same passions you have in the analog world into the digital world -- a hobby, a celebrity, a business activity or a shopping fetish.
Visit it
If you go to conferences -- or can make a case to your employer to send you to a conference -- make sure that, in addition to visiting the digital-oriented parts of whatever conference you attend, you go to a digital-focused conference, whether it be AdTech, Web 2.0 or another of this ilk. You will be both educated and disturbed not only by people, companies and ideas that you have not heard of before but also by the zealotry and dogma that so often is over the top. If you are fortunate, see if your company, client or agency can arrange for a field trip to one of the Yahoos, Microsofts, Facebooks or smaller start-ups of the world. Seeing people in their natural habitats and understanding the culture and politics face to face is enlightening. But using and being comfortable with digital culture and technology, while necessary, is not sufficient to thrive. To truly thrive, you need to change your approach, perspective, behavior and mind-set.
Getting to a digital mind-set to thrive
Delegate and be transparent
Digital technology does a couple of things. It speeds things up. It enables the lesser informed and the disenfranchised. In such an environment, a "command-and-control" approach to management or "managing by fear" tends to backfire. People blog and Twitter and share your bad manners and habits so you become a laughingstock, or by the time you make a decision, the opportunity is gone. Delegating downward while holding people accountable for outcomes, as well as being authentic and a person of your word, is critical for success in this new world.
Start with a clean-sheet-of-paper approach
Why is it that successful initiatives rarely come from incumbents even when the fighter brands that succeed are often filled with employees who worked at the incumbent? It's because of legacy mind-sets and systems. As a manager, take your team and create the company that could clean your clock. Now ask why you are not actually activating what this "straw-man competitor" would do. As an individual, define what you would do if you were a new employee or had a chance to start again to be more marketable. Once you have your why, put your plans into practice. What you decide to do today -- not what your company, your boss or your competitors decide to do -- will determine how successful you will be tomorrow.
Think outcome, not input
The digital world has more data. That does not mean it is more measurable, because often the data are just noise. Before you launch any program or project, you should ask yourself: "What is the outcome I am hoping to achieve?" Then make sure you capture the data that enable you to measure progress against the outcome. Keeping the outcome and the data you collect in mind often will determine how you build the marketing program.
Iterate
Increasingly what you do and how your team works will need to be like a software release. You will start with an alpha, then move to a beta and then a 1.0 release of your idea and program. Things are changing quickly, and there is an opportunity to get input from users and consumers. Learn and grow by making mistakes faster while keeping them small. By calling things prototypes and betas and managing expectations, you face minimal backlash while you learn from mistakes. Lastly, do not forget the basic rules of business and careers that carried you to success in the first place. The basics never change, whether analog or digital.